ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๗๒ ตอนที่ ๗๔ ลงวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๔๙๘ และ พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. ๒๔๙๕ มาตรา ๔, ๕ กอปรกับกระทรวงมหาดไทย เห็นสมควรยกฐานะท้องถิ่นบางส่วนในตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เป็นสุขาภิบาลโดยใช้ชื่อว่า " สุขาภิบาลระแงง " ต่อมาวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้มีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน "สุขาภิบาลระแงง" จึงได้รับการเปลี่ยนแปลงเป็น "เทศบาลตำบลระแงง" ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๖ ตอนที่ ๙ ก ลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๒ และตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาล เพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตเทศบาล จึงเปลี่ยนชื่อจาก เทศบาลตำบลระแงง เป็น “ เทศบาลตำบลศีขรภูมิ ” ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษ 146 ง ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2554 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2554
สภาพทางภูมิศาสตร์
ลักษณะที่ตั้ง
เทศบาลตำบลศีขรภูมิ ตั้งอยู่ภายในเขตการปกครองของอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทางรถยนต์ ๔๘๙ กิโลเมตร โดยทางรถไฟระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานคร ๔๒๗ กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ไปทางทิศตะวันออก ๓๔ กิโลเมตร มีพื้นที่ภายในเขตเทศบาล ๔ ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม วัดความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ ๑๓๐ – ๑๕๐ เมตร ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีประมาณ ๑,๓๒๐.๗ มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดเดือนเมษายนประมาณ ๓๙.๗ องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดเดือนธันวาคมประมาณ ๑๒.๕ องศาเซลเซียส
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลหนองขวาว อำเภอศีขรภูมิ ตั้งแต่หลักเขตที่ ๑ ซึ่งตั้งอยู่ที่ฟากตะวันตกของทางไปอำเภอรัตนบุรี ตอนที่อยู่ห่างจากสถานีศีขรภูมิไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทาง 595 เมตร จากหลักเขตที่ ๑ เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือถึงฟากเหนือของรถไฟสายนครราชสีมา - อุบลราชธานี ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๔๕๔.๖๘๕ ซึ่งเป็นเขตหลักที่ ๒
ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านจลง ตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ จากหลักเขตที่ ๒ เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงมุมสระโบราณด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นหลักเขตที่ ๓ จากหลักเขตที่ ๓ เลียบตามฟากตะวันออกของสระโบราณไปทางทิศใต้ และเป็นเส้นตรงต่อไปทางทิศใต้ผ่านทางไปจังหวัด ศรีสะเกษ และอยู่ห่างจากทางไปจังหวัดศรีสะเกษ ระยะทาง 100 เมตร ซึ่งเป็นหลักเขตที่ ๔
ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านกางของ ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จากหลักเขตที่ ๔ เป็นเส้นขนาน
กับทางไปอำเภออุทุมพรพิสัยและจังหวัดศรีสะเกษไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงจุดซึ่งอยู่ห่างจาก ทางไป (วัดศรีวิหารเจริญ) ระยะทาง 100 เมตร ซึ่งเป็นหลักเขตที่ ๕ จากหลักเขตที่ ๕ เป็นเส้นตรงไปยังทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงด้านตะวันออกของสะพานรถไฟสายนครราชสีมา – อุบลราชธานี ซึ่งเป็นหลักเขตที่ ๖
ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านสระใหญ่ ตำบลหนองขวาว อำเภอศีขรภูมิ จากหลักเขตที่ ๖ เป็นเส้นตรงไปยังทิศตะวันออกเฉียงเหนือจนบรรจบกับหลักเขตที่ ๑